วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Museum Trad



พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตจังหวัดตราด ตั้งอยู่บนถนนสันติสุข ต.บางพระ อ.เมือง จ.ตราด โดยตั้งอยู่ภายในศาลากลางหลังเก่า ซึ่งมีมนต์ขลังและประวัติ ศาสตร์ที่ยาวนาน ย้อนกลับไปถึงในรัชสมัยของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6




โดยแต่เดิมนั้น อาคารหลังนี้ใช้เป็นสถานที่ราชการของจังหวัดตราด มีลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง แต่ต่อมาเมื่อศูนย์ราชการได้ย้ายไปที่ทำการใหม่ อาคารหลังนี้ก็ถูก ปล่อยให้ว่างเปล่าเป็นเวลานานจนสภาพอาคารเสื่อมโทรมไปหมดทั้งหลัง




ต่อมากรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้ขึ้นทะเบียนศาลากลางจังหวัดตราดหลังเก่าให้เป็นโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ ๑๘ ธ.ค.๒๕๓๙ เล่มที่ ๑๑๓ ตอน พิเศษ ๕๐ง หน้า ๓ และเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๗ อาคารศาลากลางจังหวัดตราดหลังเก่าซึ่งเป็นโบราณสถาน ได้ถูกเพลิงไหม้เกือบทั้งหลังเหลือไว้แต่เสา โดยฝีมือของคน สติฟั่นเฟือนที่เข้ามาพักอาศัยหลับนอน




ปี พ.ศ.๒๕๔๘ ข้าราชการ ประชาชนชาวตราดได้ร่วมกันพิจารณาเห็นว่า น่าจะบูรณะอาคารศาลากลางจังหวัดตราด หลังเก่าที่ถูกไฟไหม้ขึ้นมาใหม่ ให้คงรูปแบบเดิมเพื่อจัดตั้งเป็น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวจังหวัดตราด โดยขอให้กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้ออกแบบ และประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งกรมศิลปากร ได้ดำเนินการบูรณะ ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารหลังเก่าได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๔๙


Museum Trad



อาคารพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด (Trat Museum)




ตั้งอยู่ที่ถนนสันติสุข ตำบลบางพระ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2465 (สมัยรัชกาลที่ 6) เพื่อเป็นศาลากลางจังหวัดตราด ลักษณะเป็นอาคารสถาปัตยกรรมอาณานิคม สร้างเป็นเรือนไม้ เสาปูน ยกพื้น ใต้ถุนสูง หลังคาทรงปั้นหยา เมื่ออาคารชำรุดทรุดโทรมลงตามกาลเวลา กระทรวงมหาดไทยเกรงจะไม่ปลอดภัยต่อบุคลากรและผู้มาติดต่อราชการ จึงสร้างอาคารศาลากลางจังหวัดตราดขึ้นใหม่ กรมศิลปากรจึงขึ้นทะเบียนศาลากลางหลังเดิมให้เป็นโบราณสถานของชาติ

วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2547 อาคารหลังนี้ถูกไฟไหม้เสียหายเกือบทั้งหลัง ประชาชนและข้าราชการจังหวัดตราดเห็นควรบูรณะอาคารขึ้นใหม่ เพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถาน เทศบาลเมืองตราดจึงจัดสรรงบประมาณประจำปี 2548 เป็นเงิน 16,140,000 บาท เพื่อให้กรมศิลปากรดำเนินการบูรณะซ่อมแซมอาคารตามรูปแบบเดิมพร้อมปรับสภาพภูมิทัศน์ จนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2549 หลังจากนั้นใน พ.ศ.2550 จังหวัดตราดขอความอนุเคราะห์กรมศิลปากรปรับปรุงอาคารแห่งนี้ให้เป็นพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจึงดำเนินการทางวิชาการและเทคนิคจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถาน ด้วยงบประมาณประจำปี 2553-2555 ของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นเงิน 19,700,000 บาท

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 กรมศิลปากรได้ส่งมอบพิพิธภัณฑสถานเมืองตราดให้เทศบาลเมืองตราดดำเนินการบริหารจัดการพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้มรดกวัฒนธรรม ธรรมชาติ และวิถีชีวิตเมืองตราด


ภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด จัดแบ่งห้องแสดงภาพถ่ายเหตุการณ์และวัตถุโบราณออกเป็น 6 โซนด้วยกันคือ1. มรดกธรรมชาติและวัฒนธรรมแห่งชาติ
2. ผู้คนเมืองตราด
3. ลำดับทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์เมืองตราด
4. เหตุการณ์สำคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
5. เหตุการยุทธนาวีเกาะช้าง
6. ตลาดเมืองตราด


วัน เวลา และการให้บริการ
♦ วันอังคาร - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.00 น. - 16.00 น.
♦ วันเสาร์ - วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.30 น. - 16.30 น. (หยุดวันจันทร์)


อัตราค่าเข้าชม พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด 1. เด็ก ส่วนสูงเกินกว่า 100 เซนติเมตรขึ้นไป 5 บาท
2. ผู้ใหญ่ 10 บาท
3. เด็กต่างชาติ ส่วนสูงเกินกว่า 100 เซนติเมตรขึ้นไป 10 บาท
4. ผู้ใหญ่ต่างชาติ 30 บาท

Trat museum

Museum Trad

 


พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด
ถนนสันติสุข ต.บางพระ อ.เมือง จ.ตราด
เปิดวันอังคาร-วันศุกร์ ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. วันเสาร์-อาทิตย์ ๐๙.๓๐-๑๖. ๓๐ น. (ปิดวันจันทร์)
ไม่เก็บค่าเข้าชม
อนุญาตให้ถ่ายภาพ

Museum Trat The road to peace . Some of the district town . Trat . Open Tuesday - Friday 9:00 to 16:00 pm . Saturday - Sunday 09.30-16 . 30 hrs. ( Closed Mondays) . No admission fee Allow Shooting

Museum Trad


หัวข้อสุดท้าย คือ ตลาดเมืองตราด จำลองร้านรวงในขนาดและสภาพเหมือนจริง ผู้ชมชอบการถ่ายภาพหรือเยี่ยมชมของจริงอย่างใกล้ชิดสามารถกระทำได้เต็มที่ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของพิพิธภัณฑ์ในฐานะ “แหล่งเรียนรู้” ถึงมรดกวัฒนธรรมและวิถีชีวิตผู้อื่น โดยไม่ต้องคำนึงถึงมารยาทและความเกรงใจมากเท่าในโลกของความเป็นจริง ในสายตาของผู้เคยชมพิพิธภัณฑ์มามากแห่ง ที่นี่อาจไม่มีสิ่งโดดเด่นนัก แต่ในถิ่นที่พิพิธภัณฑ์ยังดูเป็นสถานที่ราชการและอาจเป็นเรื่องไกลตัว นับว่าน่าดีใจที่ในตอนสายๆ ของวันหยุดมีพ่อแม่ขี่จักรยานยนต์พาลูกมาเยี่ยมชมประปราย หากจะมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่องให้ชาวตราดได้มีส่วนร่วมสม่ำเสมอ ที่นี่ก็น่าจะสร้างบรรยากาศของความเป็นมิตรและมีประโยชน์ต่อท้องถิ่นได้มากขึ้น

Museum Trad

หัวข้อที่สี่ว่าด้วย เหตุการณ์สำคัญในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะการจำลองฉากที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำเมืองตราดในคราวเสด็จฯ เยือนครั้งที่ ๑๒ หลังจากฝรั่งเศสคืนเมืองตราดให้ไทย ต่อด้วย เหตุการณ์ยุทธนาวีเกาะช้าง สร้างฉากให้ผู้เข้าชมรู้สึกว่ากำลังอยู่บนเรือรบลำหนึ่งในช่วงที่เกิดยุทธนาวีนั้น หากนั่งฟังเรื่องราวจากวีดิทัศน์อย่างสงบแล้วอาจเกิดความรู้สึกร่วมได้ไม่ยาก
The four topics Key events in the reign of King Rama V. Especially the scene where King Rama 5 Lgneklgaฯ foil sword Royal City Trad time has come. Visit to France after the 12th night of Trat to Thailand with the Battle of Ko Chang. Create a scene that visitors feel they are on a ship during a naval battle there. If you enjoy listening to stories from VHS peacefully and potential common sense is not difficult.

Museum Trad

ห้องแรกว่าด้วยมรดกธรรมชาติและวัฒนธรรมแห่งตราด มีโทรทัศน์ฉายสารคดีสั้น ๆ ดูและฟังพร้อมชมหุ่นจำลองเมืองตราดกลางห้องได้ หัวข้อถัดมาคือ ผู้คนเมืองตราด มีหุ่นพ่อค้าแม่ค้าและชนกลุ่มต่างๆ พอเป็นฉากถ่ายรูปสนุกตามสมัยนิยม หัวข้อที่สามว่าด้วย ลำดับทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์เมืองตราด นำวัตถุโบราณมาจัดแสดงเป็นตัวอย่าง ราวภาคบังคับ ที่น่าสนใจคือกลองมโหระทึกจำลองประกอบเรื่องเล่าว่าของจริงมีชาวตราดขุดพบและตั้งศาลเซ่นสรวงบูชาทุกปี ณ ตำแหน่งใกล้เคียงกับที่พบนั้น

Museum Trat

   เหตุการณ์ครั้งนั้นนำมาสู่แนวคิดสร้างอาคารขึ้นใหม่ด้วยรูปลักษณ์เดิม โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบและดำเนินการด้วยงบประมาณราว ๑๖ ล้านบาท แล้วเสร็จในเดือนกันยายน ๒๕๔๙ ต่อมากระทรวงวัฒนธรรมตั้งงบประมาณให้กรมศิลปากรจัดทำพิพิธภัณฑ์ แล้วส่งมอบให้เทศบาลเมืองตราด ดำเนินการบริหารจัดการ หลังจากมีผู้มาเยือนล้นหลามในวันเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ราวหนึ่งเดือนหลังจากนั้น สถานที่นี้ก็ยังดูเงียบเหงา ชาวเมืองตราดส่วนใหญ่ยังไม่รับรู้นักว่ามีพิพิธภัณฑ์พร้อมชม บางคนยืนยันว่าพิพิธภัณฑ์มีตามวัดเท่านั้น กอปรกับลักษณะของอาคารไม้ใต้ถุนสูงหลังยาวที่อยู่ในรั้วล้อม ดูน่าเกรงขามจนอาจไม่กล้ามาเยือน

   ขั้นบันไดกลางค่อนข้างสูงชันกำหนดให้นำทางสู่ประตูทางเข้าพิพิธภัณฑ์ ทางด้านขวาก็จะพบส่วนต้อนรับ มีเจ้าหน้าที่ประจำการอยู่หลังเคาน์เตอร์ซึ่งให้ข้อมูลต่าง ๆ ยังไม่คล่องนัก จากนั้นจะเข้าสู่ห้องจัดแสดงที่กำหนดไว้ ๖ หัวข้อ อ่านหน้าต่อไปนะค่ะ ที่เป็นหัวข้อ

Museum Trat

      ก่อนสงกรานต์ปี ๒๕๔๗ ไม่กี่วัน เกิดไฟไหม้ศาลากลางจังหวัดตราดหลังเก่าที่สร้างขึ้นในปลายรัชกาลที่ ๖ ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้ตั้งแต่ปลายปี ๒๕๓๙ ชาวตราดเล่าถึงเหตุการณ์ช่วงนั้นว่า เมื่อศาลากลางย้ายที่ทำการไปยังตึกใหม่อีกมุมหนึ่งของสนามหลวง (สนามหน้าศาลาว่าการเมือง) ศาลากลางไม้หลังเดิมก็ทรุดโทรมจนเกือบร้าง ทั้งบริเวณที่ตั้งห่างไกลจากย่านชุมชน เมื่อมีคนฟั่นเฟือนเข้ามาใช้เป็นที่หลับนอนแล้วเกิดจุดไฟขึ้น จึงเกิดเพลิงไหม้วอดวายสิ้น

Before April 2547, a few days after the fire, Trad old town hall, built in the reign of the sixth, which is registered as a historic site since the end of 2539, the period that the events recounted Trat. When the capitol moved to a new building another corner of the plaza. (Front of City Hall), the old wooden hall was dilapidated and almost deserted. The area is located far from urban neighborhoods. When a person is unfit to take a nap, then lit up. The fire destroyed the

Museum Trat


   






- เปิดพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด ให้เป็นแหล่งพิพิธภัณฑสถานประจำเมือง และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ส่งเสริม เผยแพร่มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ

วันนี้ (26 พ.ค.) นายสุระ เตชะทัต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานเมืองตราดจังหวัดตราด และพิธีส่งมอบพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด ให้เป็นพิพิธภัณฑสถานประจำเมือง และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ส่งเสริม เผยแพร่มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ โดยมีนายธีระ สลักเพชร ส.ส.ตราด อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้ผลักดันให้มีการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว น.ส.เบญจวรรณ อ่านเปรื่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด นายวิเชียร ทรัพย์เจริญ นายก อบจ.ตราด นายชนินท์ สุทธิวารี นายกเทศมนตรีเมืองตราด และประชาชนกว่า 300 คน ร่วมในพิธี
โดยนายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวว่า อาคารพิพิธภัณฑ์จังหวัดตราด คืออาคารศาลากลางหลังเก่า ที่ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2465 ในสมัยรัชกาลที่ 6 และกรมศิลปากรได้ประกาศให้เป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2539
ต่อมา อาคารได้ถูกไฟไหม้เสียหายเกือบทั้งหลัง และในปี 2543 ประชาชน และหน่วยงานราชการต่างๆ ของ จ.ตราด ได้เห็นควรที่จะสร้างอาคารขึ้นมาใหม่ และใช้เป็นพิพิธภัณฑสถาน ซึ่งเทศบาลเมืองตราด ได้จัดสรรงบประมาณ จำนวน 16.14 ล้านบาท ให้กรมศิลปากรดำเนินการ และก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2549
และในระหว่างปี 2553-2555 นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ขณะนั้น ได้ตั้งงบประมาณให้กรมศิลปากร ดำเนินการงานทางวิชาการ และเทคนิคการแสดงภายใน กระทั่งในวันที่ 26 พฤษภาคม 2556 ได้ส่งมอบพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด ให้เทศบาลเมืองตราด ดำเนินการบริหารจัดการ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม ธรรมชาติ และวิถีชีวิตเมืองตราดต่อไป
สำหรับพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด ตั้งอยู่ที่ถนนสันติสุข อำเภอเมือง จังหวัดตราด มีพื้นที่ใช้สอย 793 ตารางเมตร ห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวร แบ่งออกเป็น 6 หัวข้อประกอบด้วย 1) มรดกธรรมชาติและวัฒนธรรมแห่งตราด 2) ผู้คนเมืองตราด 3) ลำดับทางโบราณตดีและประวัติศาสตร์เมืองตราด 4) เหตุการณ์สำคัญในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 5) เหตุการณ์ยุทธนาวีเกาะช้าง และ 6) ตลาดเมืองตราด

เปิดให้เข้าชมในวันอังคาร-วันศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.30-16.30 น. หยุดวันจันทร์ 1 วัน

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

GFriend;

                         เราจะมาติดตาม วงน้องใหม่กันน่ะ นั้นก็คือวง จี-เฟรนด์ (อังกฤษGFriendฮันกุล: 여자친구) ชื่อในภาษาเกาหลี ยอจาชินกู แปลว่าว่า "แฟนสาว" เป็นเกิร์ลกรุ๊ป 6 คนของค่าย Source Music ในแนวเค-ป๊อปและป๊อปแดนซ์ ได้เดบิวต์ในเดือนมกราคม 2558 [1] กับเพลง EP "Season of Glass".[2]อย่างลืมติดตามกันน่ะ

พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด

สมาชิกกลุ่ม
ด.ญ.นุชนาถ ชาติกุล
ด.ญ.ปัทมา วงษ์ทอง
ด.ช.ศุภวิชญ์ อรุณสิกขพันธ์
ด.ญ.วนิฌา สาริกาแก้ว
ด.ญ.วิภาดา สร้างสม
พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด ตั้งอยู่ที่ถนนสันติสุข อำเภอเมือง จังหวัดตราด พิพิธภัณฑสถานประจำเมืองแห่งนี้ใช้อาคารศาลากลาง จังหวัดหลังเดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตเมืองตราด รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ส่งเสริม เผยแพร่มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรม  โดยแต่เดิมอาคารหลังนี้ใช้เป็นสถานที่ราชการ ของจังหวัดตราด มีลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง แต่ต่อมาเมื่อศูนย์ราชการได้ย้ายไปที่ทำการใหม่ อาคารหลังนี้ก็ถูก ปล่อยให้ว่างเปล่าเป็นเวลานานจนสภาพอาคารเสื่อมโทรมไปหมดทั้งหลัง ต่อมากรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้ขึ้นทะเบียนศาลากลาง จังหวัดตราดหลังเก่าให้เป็นโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ ๑๘ ธ.ค.๒๕๓๙ เล่มที่ ๑๑๓ ตอน พิเศษ ๕๐ง หน้า ๓ และเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๗ อาคารศาลากลางจังหวัดตราดหลังเก่าซึ่งเป็นโบราณสถาน ได้ถูกเพลิงไหม้เกือบทั้งหลังเหลือไว้แต่เสา โดยฝีมือของคน สติฟั่นเฟือนที่เข้ามาพักอาศัยหลับนอน   ปี พ.ศ.๒๕๔๘ ข้าราชการ ประชาชนชาวตราดได้ร่วมกันพิจารณาเห็นว่า น่าจะบูรณะอาคารศาลากลางจังหวัดตราด หลังเก่าที่ถูกไฟไหม้ขึ้นมาใหม่ ให้คงรูปแบบเดิมเพื่อจัดตั้งเป็น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวจังหวัดตราด โดยขอให้กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้ออกแบบ และประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งกรมศิลปากร ได้ดำเนินการบูรณะ ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารหลังเก่าได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๔๙ 
ภายในห้องนิทรรศการประกอบด้วย 6 หัวข้อ ได้แก่

1) มรดกธรรมชาติและวัฒนธรรมแห่งตราด ห้องแรกมรดกธรรมชาติและวัฒนธรรม
2) ผู้คนเมืองตราด จัดแสดงเรื่องภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์
3) ลำดับทางโบราณตดีและประวัติศาสตร์เมืองตราด  จัดแสดงเรื่องราวของจังหวัดนับแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และต้นสมัยประวัติศาสตร์ สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ ช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
4) เหตุการณ์สำคัญในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุการณ์สำคัญในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อาทิ การพระราชทานพระแสงราชศาสตราประจำเมือง การเสด็จประพาสเมืองตราด ฯลฯ
5) เหตุการณ์ยุทธนาวีเกาะช้าง เหตุการณ์ยุทธนาวีเกาะช้าง จัดแสดงเรื่องราวตามลำดับเหตุการณ์ยุทธนาวีเกาะช้าง รูปแบบเรือรบของทางไทยและฝรั่งเศส  บรรยากาศตลาดเมืองตราด
6) ตลาดเมืองตราด บรรยากาศตลาดเมืองตราด จัดแสดงเรื่องราวการค้าในตลาดเก่าวันวานและสภาพปัจจุบัน
นอกเหนือจากนิทรรศการ อาคารของพิพิธภัณฑ์ฯ ยังมีความโดดเด่นชวนศึกษาโดยได้รักษาสถาปัตยกรรมรูปแบบเดิมที่สร้างขึ้นนับแต่พุทธศักราช 2465 ไว้ ลักษณะอาคารเป็นเรือนไม้ เสาปูน ยกพื้นใต้ถุนสูง หลังคาทรงปั้นหยา ฯลฯ

พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด เปิดให้เข้าชมในวันอังคาร-วันศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.30-16.30 น. หยุดวันจันทร์ 1 วัน  เสียค่าเข้าชมคนละ 10 บาท 






วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

dreom

                                                                     อาชีพครู
       เป็นความฝันของฉันเลยนะ เพราะ ฉันอยากสอนนักเรียน หรือ สอนเด็กๆ ฉันฝันอยากเป็น คุณครูสอนสังคม หรือ ประวัติศาสตร์ ฉันจะทำให้ได้  เพราะนี้คือความฝันของฉัน ฉันจะไม่ปล่อยให้มันไป
             It is my dream because I want to teach my students and my dream is to teach children. Teacher or social history I would have Because this is my dream. I will not let it go.

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

monsta x

สวัดดีจ้า วันนี้อยากมาอับเดด วงน้องใหม่ monsta x รองมาอ่านประวัติของ monsta x กันนะค่ะ
      มอนสต้า เอ็กซ์ (อังกฤษ: Monsta X; เกาหลี: 몬스타엑스) เป็นวงฮิปฮอปบอยแบนด์สัญชาติเกาหลีใต้ในสังกัด Starship Entertainment เริ่มกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2558 หลังจากที่สมาชิกทั้งเจ็ดคนชนะในรายการเซอร์ไวเวอร์ที่ชื่อว่า ‘NO.MERCY’ (노머시) และเพลงเปิดตัวคือ TRESPASS โดยชื่อวง Monsta X มาจาก 'Mon' ที่เป็นภาษาฝรั่งเศสแปลว่า 'ของฉัน' (My) Monsta ก็มีความหมายว่า 'ดาวดาวของฉัน' (My star) และ 'X' เป็นตัวแทนของความลึกลับ ตัวแปรที่ไม่อาจหาค่าได้ อีกทั้งมีความหมายว่า สัตว์ประหลาด (Monster) สุดร้อนแรงที่เตรียมผงาดยึดครองวงการเพลงเคป็อบชื่อแฟนคลับคือ Monbebe (เกาหลี몬베베) ประกาศชื่อแฟนคลับอย่างเป็นทางการวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 โดย 'Mon' เป็นภาษาฝรั่งเศสแปลว่า 'ของฉัน' และ 'Bebe' มาจาก 'Baby' ที่แปลว่า 'เด็กน้อย' รวมแล้วมีความหมายว่า 'เด็กน้อยของฉัน' รองติดตามกันดูนะค่ะ